รู้จัก “พิธียกเสาเต็งโก” พิธีแห่งการเริ่มต้นเทศกาลถือศีลกินเจของภาคใต้

หากพูดถึงเทศกาลกินเจ หลายคนต้องนึกภาพถึงพิธีกรรมใหญ่ในภาคใต้ อย่างที่ภูเก็ต หรือตรัง เพราะเป็นแหล่งรวมกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ นอกจากจะเป็นเทศกาลสำคัญของคนในพื้นที่ ก็ยังกลายเป็นพิธีกรรมที่นักท่องเที่ยวอยากเข้ามาสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้ง จนต้องวางแผนเที่ยวในช่วงเทศกาลกินเจกันเลย เพราะเป็นวัฒนธรรมที่เก่าแก่เป็นร้อยปี ต้องมาสัมผัสที่นี่เท่านั้น!

โดยช่วงเทศกาลกินเจของภาคใต้ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15– 23 ตุลาคม 2566

ประเพณีการกินเจของภาคใต้

ประเพณีการกินเจของภาคใต้ มักจะจัดที่ภูเก็ต และตรัง ในช่วงเดือน 9 ของทุกปี โดยพิธีกรรมส่วนใหญ่ เริ่มต้นขึ้นในช่วงเช้าของวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน โดยเริ่มจากชาวบ้าน หรือผู้ศรัทธา ร่วมกันทำความสะอาดศาลเจ้า หรือที่ชาวภูเก็ตเรียกว่า “อ๊าม”

และต่อด้วยการจุดไม้จันทน์ กำยาน เพื่อเตรียมการรับเสด็จของเทพเจ้าทั้ง 9 องค์ เรียกว่า "เก้าอ๊วง" หรือ "กิ้วอ๊วง" หมายถึง นพราชาทรงอำนาจในการบริหารธาตุทั้งห้า คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ซึ่งเป็นธาตุที่สำคัญของมนุษย์คำพูดจาก เครื่องสล็อต

ตามความเชื่อนั้น เทพเจ้าทั้ง 9 องค์นั้นได้แบ่งภาคไปเป็นดาวเคราะห์ 9ดวงเพื่อที่จะบริหารธาตุทั้ง 5 ที่ประกอบเป็นจักรราศีแห่งดวงชะตา ประกอบไปด้วย

  1. พระอาทิตย์ ภาษาจีนเรียกว่า ไท้เอี๊ยงแชแช แปลว่า ดวงดาว

  1. พระจันทร์ คือ ไท้อิมแช

  1. ดาวพระอังคาร หรือ ฮวยแช

  1. ดาวพระพุธ หรือจุ๊ยแช

  1. ดาวพระพฤหัสบดี หรือ บั๊กแช

  1. ดาวพระศุกร์ หรือ กิมแช

  1. ดาวพระเสาร์ หรือ โท้วแช

  1. ดาวพระราหู หรือ ล่อเกาแช

 รู้จัก “พิธียกเสาเต็งโก” พิธีแห่งการเริ่มต้นเทศกาลถือศีลกินเจของภาคใต้

  1. ดาวพระเกตุ หรือ โกยโต้วแช

อย่างที่เรารู้กันดีว่า ในระบบจักรวาล หากมีดาวเคราะห์ดวงใดหยุดหมุน โลกต้องเกิดภัยพิบัติแน่นอน เมื่อถึงวันที่ 1 – 9 ของเดือน 9 จะเป็นกำหนดวันที่เทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์แต่ละองค์ ผลัดกันเสด็จลงมาเยือนโลกมนุษย์ เพื่อประทานพรแด่ผู้ประพฤติดี เมื่อถึงเทศกาลกินเจ จึงมีการกราบไหว้ และถือศีลกินเจเพื่อเป็นเครื่องสักการบูชา และเพื่อของพรจากเทพเจ้า

นอกจากการรับเสด็จของเทพเจ้าทั้ง 9 องค์เรียบร้อยแล้ว ยังมีีอีกหนึ่งพิธีกรรมสำคัญ นั่นคือ “พิธียกเสาเต็งโก”

รู้จัก “พิธียกเสาเต็งโก”

เสาเต็งโก หรือบางที่เรียกว่า เสาโกเต้ง หมายถึง ราวไม้ไผ่แขวนตะเกียง 9 ดวง โดยจะแขวนตะเกียงไว้ที่ปลายเสาเต็งโก ให้เป็นสัญลักษณ์แห่งดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ สถิตไว้ตลอดเทศกาลกินเจ

หลังจากนั้นเวลาเที่ยงคืน จะมีการอัญเชิญยกอ๋องซ่งเต และอัญเชิญเทพเจ้าทั้ง 9 องค์ หรือกิ่วอ๋องไต่เต่มาเป็นเทพประจำพิธี การยกเสาเต็งโก จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเทศกาลกินเจในภาคใต้

เสาเต็งโก หรือเสาโกเต้ง

เสาเต็งโกนั้นจะใช้ต้นไผ่ที่ปลายยอดไม่หัก ความสูงไม่น้อยกว่า 36 ข้อปล้อง สื่อความหมายถึง 36 ชั้นฟ้า มีความเชื่อว่าจะเป็นทางสื่อที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนจะลงมายังโลกมนุษย์ ปลายยอดเสาจะประดับด้วยธงสีเหลืองผืนเล็ก ประกาศแด่ปีศาจ เปรต อสุรกายน้อยใหญ่ให้มารับส่วนบุญ และยังเป็นการประกาศแด่เทพเจ้าให้มารับทราบงานบุญที่ยิ่งใหญ่นี้ และยังมีธงอีกผืนที่ปลายส่วนย่อ ซึ่งเป็นธงขององค์กิ่วอ๋องไต่เต่

นอกจากนี้ยังเชื่อว่า การที่มีการยกเสาเต็งโกนั้น เปรียบเสมือนเสากระโดงเรือ ให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวของผู้ที่เข้าร่วมประเพณีถือศีลกินเจ

ขอบคุณข้อมูล:

Waijiao, Phuket Vegetarian, Plan Travel dot com